เมื่อลูกน้องแต่ละคนมีบุคลิกและความสามารถที่แตกต่างกัน หัวหน้าจึงต้องเปลี่ยนบทบาทตามไปเพื่อให้การทำงานราบรื่นที่สุด แต่จะรู้ได้ยังไงล่ะ ว่าเราควรสวมบทบาทแบบไหน?
.
Situational Leadership Model เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้คนเป็นหัวหน้ารับมือและจัดการกับลูกน้องแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม ผ่านการสังเกตพฤติกรรมและแรงจูงใจในการทำงานของน้องแต่ละคน
.
#SituationalLeadership
เฟรมเวิร์กนี้บอกว่าการที่เราจะเล่นบทหัวหน้าแบบไหนนั้น ให้เราสังเกตลูกน้องในสองมุมคือ
💪 ความสามารถของลูกน้อง
🔥 ความมุ่งมั่นในการทำงาน
.
#ลูกน้องมีความสามารถและความมั่นใจสูง
เราต้องเป็นหัวหน้าที่มอบหมายงาน บอกว่าเราต้องการอะไร แล้วให้ลูกน้องไปคิดวิธีการทำงานเอาเอง ให้อำนาจในการตัดสินใจและให้อิสระในการทำงานอย่างเต็มที่ โดยเราทำหน้าที่ให้คำแนะนำและช่วยเหลือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
.
#ลูกน้องมีความสามารถสูงแต่ความมั่นใจต่ำ
ให้เราเล่นบทหัวหน้าที่คอยสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ แต่ไม่ใช่การเข้าไปควบคุมการทำงาน เพราะจะยิ่งทำให้เสียความมั่นใจ คอยให้คำแนะนำคำปรึกษาเมื่อเขาต้องการความช่วยเหลือ เพื่อช่วยดึงศักยภาพของของเขาออกมาอย่างเต็มที่
.
#ลูกน้องมีความสามารถต่ำแต่ความมั่นใจสูง
หากเรามีลูกน้องที่ยังขาดทักษะหรือประสบการณ์แต่มีความมั่นใจในการทำงาน ให้เราสวมบทเป็นโค้ช ใช้คำถามเยอะ ๆ เพื่อให้คิดได้ด้วยตัวเอง แล้วค่อยให้คำตอบ บอกวิธีการทำงาน และอธิบายเหตุผลการตัดสินใจให้เขาเข้าใจ
.
#ลูกน้องมีความสามารถและความมั่นใจต่ำ
ถ้าเจอลูกน้องแบบนี้ให้เราเล่นบทโหด ออกคำสั่ง บอกวิธีทำงานอย่างเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน เพื่อให้เขารู้ว่าจะต้องทำอะไร ยังไง เมื่อไร และคอยควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด วิธีนี้ยังเหมาะกับการทำงานในภาวะวิกฤติอีกด้วย
.
#แปดบรรทัดครึ่ง #eighthalf #WorkHacks #8halfWorkHacks ดูน้อยลง
เขียนโดย คุณ อบต.โพกรวม
|