หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล โพกรวม ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
วิสัยทัศน์ อบต.โพกรวม
'' สร้างความสามัคคี เกษตรมีระบบชลประทานทั่วถึง
องค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวมเป็นที่พึ่งของประชาชน ''
นายวุฒิพงศ์ ศรีรัง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม
ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต
ให้บริการประชาชนโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
นายสุเทพ พรหมผล
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม
ศูนย์รวมใจของชาวตำบลโพกรวม
อบต.โพกรวม
1
2
3
 
 
การเบิกเงินอุดหนุนให้แก่หน่วยงานอื่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
        การเบิกเงินอุดหนุนให้แก่หน่วยงานอื่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

มีหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
๑. หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๘๐๘.๒/ว ๗๔ ลงวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๓ เรื่อง การตั้งงบประมาณรายจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
๑) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. เทศบาล และ อบต.) อาจตั้งงบประมาณสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ในภารกิจด้านการศึกษา ด้านการสาธารณสุขได้ หรือภารกิจที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้ถือปฏิบัติตามประกาศ กถ. เรื่องหลักเกณฑ์การสนับสนุนของ อบจ. เทศบาล และอบต. ในการให้บริการสาธารณะ ลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
สำหรับ อบจ. ให้ถือปฏิบัติตามประกาศ กถ. เรื่อง กำหนดอำนาจและหน้าที่ ในการจัดระบบบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๖ และ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ อีกทางหนึ่งด้วย
๒) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจตั้งงบประมาณหมวดเงินอุดหนุน เพื่ออุดหนุนแก่องค์กรประชาชน องค์กรการกุศล และองค์กรที่จัดตั้งตามกฎหมาย นอกเหนือจากประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามข้อ ๑ ได้ ดังนี้
๒.๑) องค์กรประชาชน หมายถึง กลุ่มหรือชุมชน กรณีกลุ่มจะต้องมีการจดทะเบียนถูกต้อง ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ของหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ สำหรับกรณีชุมชนต้องเป็นการจัดตั้งตามกฎหมาย ระเบียบ หรือหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทย และมีสถานะเป็นกลุ่มหรือชุมชน มาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๒.๒) องค์กรการกุศล หมายถึง องค์กรที่มีวัตถุประสงค์จะดำเนินงานการกุศลและจัดตั้งตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เช่น วัด มัสยิด กาชาด สมาคม มูลนิธิ เป็นต้น
๒.๓) องค์กรที่จัดตั้งตามกฎหมาย หมายถึง องค์กรที่จัดตั้งตามกฎหมาย โดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์หลักในการแสวงหากำไร หรือระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนดขึ้นโดยหน่วยงาน
๓) การตั้งงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามข้อ ๒ ให้รวมอยู่ในอัตราร้อยละที่กำหนดตามข้อ ๕ และข้อ ๗ ของประกาศ กถ.เรื่องหลักเกณฑ์การสนับสนุนของ อบจ. เทศบาล และ อบต. ในการให้บริการสาธารณะ ลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ด้วย และจะทำได้ต่อเมื่อ
๓.๑) มีการเสนอโครงการ/กิจกรรมที่จะขอรับเงินอุดหนุนซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในเขตพื้นที่ได้รับประโยชน์
๓.๒) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ให้เงินอุดหนุนต้องคำนึงถึงสถานะทางการคลังที่จะต้องใช้งบประมาณไปดำเนินงานในภารกิจหลักเพื่อการบริการสาธารณะ ซึ่งมีภาระด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการพัฒนาท้องถิ่น การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม การรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตลอดจนการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติโดยรวมตามแนวนโยบายของรัฐเป็นเบื้องต้น ก่อนที่จะพิจารณาจัดสรรงบประมาณเป็นเงินอุดหนุน
๓.๓) โครงการ/กิจกรรมที่ขอรับเงินอุดหนุนตามข้อ ๒.๑) จะต้องสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มหรือชุมชน โดยมีลักษณะของการแก้ไขปัญหาความยากจนและส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นและนำไปสู่การพัฒนาขององค์กรประชาชนในโอกาสต่อไปด้วยตนเอง โดยมิให้สนับสนุนในโครงการทีมีลักษณะเป็นเงินทุนหมุนเวียน เช่น การอุดหนุนเพื่อไปเป็นทุน * * * ้ยืม หรือสมทบกองทุนต่างๆ หรือการซื้อเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย หรือให้เป็นเงินรางวัล เป็นต้น
๔) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเพียงผู้อุดหนุนงบประมาณ มิได้ดำเนินการเอง จึงไม่ถือว่าเป็นการทำกิจการนอกเขต
๕) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเบิกจ่ายจากเงินรายได้ตามงบประมาณรายจ่ายที่ได้ตั้งไว้ในหมวดเงินอุดหนุนเท่านั้น โดยมิให้จ่ายจากเงินสะสม หรือเงิน * * * ้
๖) ก่อนจะเบิกเงินอุดหนุน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำบันทึกข้อตกลงกับผู้แทนของหน่วยงานดังกล่าวไม่น้อยกว่า ๓ คน ว่าจะดำเนินการให้เป็นไปตามโครงการที่ขอรับเงินอุดหนุนตามแบบที่ สถ.กำหนด
๗) หน่วยงานที่ขอรับเงินอุดหนุนจะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเก็บไว้เป็นหลักฐาน หากไม่มีใบเสร็จรับเงินใช้ในลักษณะงานปกติ ให้ออกใบสำคัญรับเงินแทน
๘) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหนังสือแจ้งหน่วยงานที่ขอรับเงินอุดหนุนทราบเป็นเงื่อนไขว่า การใช้จ่ายให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือหนังสือสั่งการของหน่วยงานที่ขอรับเงินนั้นถือปฏิบัติ และดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโครงการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้รายงานผลการดำเนินงานให้ อปท.ทราบภายใน ๓๐ วันนับแต่โครงการแล้วเสร็จ หากมีเงินเหลือจ่าย ซึ่งเข้าลักษณะลาภมิควรได้ตามกฎหมายให้ส่งคืนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากหน่วยงานไม่รายงานผลการดำเนินการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะไม่พิจารณาตั้งงบประมาณอุดหนุนในครั้งต่อไป
๙) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ถ้าไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเรียกเงินเท่าจำนวนที่อุดหนุนไปทั้งหมดคืนได้
๑๐) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมหรือโอนงบประมาณก็ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
๑๑) หากมีปัญหาข้อขัดข้อง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะเป็นผู้กำกับดูแล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายมีอำนาจในการพิจารณาวินิจฉัย
๒. หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๘๐๘.๒/ว ๒๘๖๔ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๓ เรื่อง การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้กับศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) กรณีของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ที่มีการจัดตั้งภายใต้ระเบียบสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวว่าด้วยการจ่ายเงินอุดหนุนกิจกรรมศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน พ.ศ.๒๕๔๘ ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว จึงเป็นองค์กรที่จัดตั้งตามระเบียบ อทปท.สามารถตั้งงบประมาณอุดหนุนได้ตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเป็นตามหลักเกณฑ์หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๘๐๘.๒/ว ๗๔ ลงวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๓ เรื่อง การตั้งงบประมาณรายจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้กับศูนย์ครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ต่อไป
๓. หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๘๐๘.๒/ว ๒๙๑๖ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๓ เรื่อง แนวทางการตั้งงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนเพิ่มเติม กรณีหน่วยงานอื่นของรัฐมิได้มีความประสงค์ของรับการสนับสนุน แต่เป็นความประสงค์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๑) กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความประสงค์จะพัฒนาท้องถิ่น โดยขอรับการสนับสนุนให้หน่วยงานอื่นเป็นผู้ดำเนินการให้ เช่น การติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ หรือขยายเขตไฟฟ้า ประปา ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสานหน่วยงานนั้น ๆ เพื่อขอประมาณการรายละเอียดค่าใช้จ่ายและแผนการดำเนินงานให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๒) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบรรจุโครงการที่ขอรับการสนับสนุนไว้ในแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตั้งงบประมาณไว้ในหมวดเงินอุดหนุน
๓) เมื่อหน่วยงานที่ขอรับการสนับสนุนได้รับเงินอุดหนุนแล้ว ให้ออกใบเสร็จรับเงินให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้เป็นหลักฐาน
๔) แจ้งหน่วยที่ได้รับเงินอุดหนุนทราบว่า เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว รายงานผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบและคืนเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในลักษณะลาภมิควรได้ และเก็บรักษาหลักฐานเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบต่อไป
๔. หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค ๐๔๐๖.๓/ว ๕๙ ลงวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เรื่อง วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเงินที่ส่วนราชการได้รับอุดหนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๑) ให้ถือเป็นเงินอุดหนุนโดยมีวัตถุประสงค์ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนงาน/โครงการแต่ไม่สามารถได้ เงินเหลือให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน หากจำเป็นต้องเก็บไว้ให้ทำความตกลงกระทรวงการคลัง
๒) ต้องออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้งที่ได้รับเงิน
๓) นำเงินที่ได้รับอุดหนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดฝากคลัง
๔) สามารถเก็บรักษาเงินสดไว้ใช้จ่ายทุกโครงการรวมกันได้ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท
๕) ได้รับเงินอุดหนุนแล้วต้องนำเงินนั้นไปจ่ายภายในระยะเวลาไม่เกิน ๓๐ วันนับแต่วันที่รับเงิน สำหรับแผนงาน/โครงการที่มีระยะเวลาดำเนินการในช่วงสั้น
๖) การใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้เฉพาะโครงการนั้น โดยให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับเงินงบประมาณ
๗) การจัดซื้อ-จัดจ้าง ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุของราชการ
๘) การรับ-จ่ายเงิน ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบเบิกจ่ายเงินจากคลังฯ
๙) การบัญชีให้ปฏิบัติตามวิธีการบันทึกราชการบัญชีที่กรมบัญชีกลางกำหนด
๑๐) กรณีหน่วยงานย่อยเป็นผู้ดำเนินการ ให้จัดทำรายงานการรับ-จ่ายเงิน ส่งหน่วยงานผู้เบิกพร้อมหลักฐาน
๑๑) โครงการเสร็จสิ้นแล้ว นำเงินที่เหลือจ่ายส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน เว้นแต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
๑๒) ให้มีการตรวจสอบภายในอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
๑๓) ให้ส่วนราชการวางวิธีปฏิบัติอื่นใดได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์นี้
๑๔) หากไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์นี้ได้ ให้ขอทำความตกลงกับกรมบัญชีกลาง

Cr: ธรรมาภิบาลท้องถิ่น

เขียนโดย   คุณ อบต.โพกรวม
วันที่ 24 ส.ค. 2558 เวลา 15.42 น. [ IP : 1.179.170.213 ]
อาจารกนี้

เขียนโดย   คุณ ขาวสน
วันที่ 27 มิ.ย. 2566 เวลา 16.02 น. [ IP : 159.192.70.81 ]
     
: รายละเอียด  
 
: แนบไฟล์   เลือกไฟล์ 
 
: ชื่อผู้เขียน  
 
 
 
(1)    
 
 
 
สายตรงนายก
รับเรื่องร้องเรียน
โทร. 089-047-3789
เริ่มนับ วันที่ 3 มี.ค. 2558
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
อบต.โพกรวม : 036-510-803 กองช่าง : 036-510-802 กองสวัสดิการสังคม : 036-510-564 งานป้องกันฯ : 036-699-433
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2551 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม
จำนวนผู้เข้าชม 9,542,685 เริ่มนับ 3 มี.ค. 2558 จัดทำโดย : NAXsolution.com
 
  นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายคุกกี้ | แผนผังเว็บไซต์  
  Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10