หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล โพกรวม ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
วิสัยทัศน์ อบต.โพกรวม
'' สร้างความสามัคคี เกษตรมีระบบชลประทานทั่วถึง
องค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวมเป็นที่พึ่งของประชาชน ''
นายวุฒิพงศ์ ศรีรัง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม
ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต
ให้บริการประชาชนโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
นายสุเทพ พรหมผล
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม
ศูนย์รวมใจของชาวตำบลโพกรวม
อบต.โพกรวม
1
2
3
 
 
ข้อมูลประกอบการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560
        ข้อมูลประกอบการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560

หนังสือซักซ้อมงบปม.ปี ๖๐ ออกช้าเพราะมีการปรับถ้อยคำต่าง ๆ
- ดูเอกสารหน้าแรกเป็นเรื่องวงจรการคลัง ซึ่งเริ่มจากแผน หยิบมาใส่งบประมาณฝั่งรับและจ่าย ไปสู่การจัดซื้อจัดจ้าง เบิกจ่ายเงิน เงินเหลือตกเป็นเงินสะสม แต่ในส่วนของงบประมาณถือเป็นปัจจัยสำคัญ หากผิดพลาดเปรียบเหมือนติดกระดุมเม็ดแรกผิด กระบวนการใช้จ่ายเงินก็จะผิดไปหมด หากทำถูกต้องก็จะเดินไปตามระบบ และเรื่องต่าง ๆ ที่ตามมาก็จะถูกต้องตามกระบวนการไปด้วย
- ช่องทางการเอาเงินมาใช้มีสองช่องทาง คือ การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี กับอีกช่องทางหนึ่งที่เรียกว่าเงินนอกงบประมาณ คือ เงินสะสม เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ระบุวัตถุประสงค์
- รายละเอียดในหนังสือซักซ้อมข้อบัญญัติงบประมาณปี ๖๐ บอกไว้ว่าการทำงบประมาณปี ๖๐ จะต้องทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น เพราะระเบียบเบิกจ่ายเงินข้อ ๑๐๕ กำหนดให้ใช้คอมฯ ผ่อนผันให้ครบร้อยแปดสิบวันแล้ว ทุกแห่งจะต้องทำด้วยระบบคอมฯ เท่านั้น ถ้าชำนาญแล้วก็ทำในระบบได้เลย หรือบางแห่งยังไม่เก่งอาจจะกลัวว่าถ้าคีย์ผิดแล้วจะแก้ไขไม่ได้ ก็ทำระบบมือหรือใช้คอมปกติพิมพ์ก่อน ตรวจทานเรียบร้อยแล้วก็ไปคีย์ลงอีลาสอีกครั้ง เพียงแต่กฎหมายกำหนดว่างบประมาณจะต้องโชว์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าท้องถิ่นไหนไม่ทำด้วยอีลาสเท่ากับกำลังทำการขัดระเบียบเบิกจ่ายเงินข้อร้อยห้าและอาจถูกหน่วยตรวจสอบทักท้วงได้ ระบบถูกเชื่อมไปสภาพัฒนฯ และกระทรวงการคลัง ปี ๖๐ นี้จึงบังคับให้ใช้ระบบอีลาสเท่านั้น
- ปี ๖๐ หนังสือซักซ้อมประมาณการรายได้ใกล้เคียงปีที่ผ่านมา ประมาณการรายรับครบทุกหมวดรายรับ
- หมายเหตุ ประมาณการรายรับเงินอุดหนุนมีสองเรื่อง คือ บริหารจัดการที่ดีกับตามภารกิจอำนาจหน้าที่ มี อปท.แห่งหนึ่งประมาณการรายรับฝั่งภารกิจอำนาจหน้าที่ไว้ มีการเอาอาหารเสริมนมและอาหารกลางวันใส่ไว้ แต่ไม่ได้เขียนคำชี้แจง จึงเอาไปทำ งปม.เพิ่มเติม สตง.เข้าตรวจ ถามว่า สตง.จะบอกว่าการทำ งปม.เพิ่มเติมนี้ถูกหรือผิด คำตอบคือต้องมาดูก่อนว่าเงินเข้ามาท่วมหรือยัง หรือไม่เคยตั้งรับประมาณการหมวดนั้นไว้ก่อนเลย ข้อเท็จจริงปรากฏว่า อปท.แห่งนี้มีการทำประมาณการรายรับไว้เรียบร้อยแล้ว ในหมวดเงินอุดหนุนฝั่งตามภารกิจและอำนาจหน้าที่เพียงแต่ไม่ได้เขียนคำชี้แจงเรื่องนี้ไว้เท่านั้น แสดงว่าทำผิดหลักการทำงบประมาณ จึงถือว่าข้อบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติมนั้นเป็นโมฆะ แต่มีการก่อหนี้ไว้กับเอกชนแล้ว ถามว่าเช่นนี้ใครต้องรับผิดชอบ ก็ต้องมาตั้งการสอบละเมิดต่อ
- เอกสารหน้าแปดและเก้า มีการปรับเปลี่ยนใหม่
- เงินอุดหนุนทั่วไประบุวัตถุประสงค์ปี ๖๐ ที่ไม่ต้องนำมาตั้งงบประมาณ เป็นเรื่องของบุคลากรถ่ายโอน ได้แก่
1. เงินเดือนและค่าจ้างข้าราชการและลูกจ้างถ่ายโอน ไม่เกี่ยวกับครู ศพด. ครูต้องตั้งตามปกติ
2. สิทธิประโยชน์ข้าราชการและลูกจ้างถ่ายโอน ไม่เกี่ยวกับครู เช่น เงินค่าเช่าบ้าน ศึกษาบุตร กบข. กสจ. ค่าครองชีพชั่วคร่าว บำเหน็จบำนาญ ดำรงชีพ
3. การช่วยเหลือบุตรข้าราชการถ่ายโอน (การศึกษาภาคบังคับ ป.๑-ม.๓) ของครูต้องตั้งตามปกติ
4. ค่าเช่าบ้านข้าราชการถ่ายโอน
5. ค่าบำเหน็จบำนาญข้าราชการถ่ายโอน
รายการที่สามสี่ห้าเป็นการศึกษาภาคบังคับไม่ต้องนำมาตั้งงบประมาณ คือ โรงเรียนที่มีการสอน ป.๑-ม.๓ ไม่เกี่ยวกับครู ศพด. ดังนั้น ครู ศพด.ต้องตั้งงบประมาณหมดทุกรายการ
หลักง่าย ๆ คือ ห้าเรื่องนี้เท่านั้นที่ไม่ต้องตั้งงบประมาณ นอกนั้นตั้งงบประมาณจ่ายตามหมวดที่ได้รับเงินอุดหนุนมา เช่น หมวดค่าวัสดุ หมวดค่าใช้สอย หมวดค่าสาธารณูปโภค
6. ค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ ไม่ต้องตั้ง เงินจะถูกกรมฯ ส่งไป สปสช.โดยตรง
- เอกสารหน้าสิบ รายการเงินอุดหนุนทั่วไป ปีงบประมาณ ๖๐ มี ๑๐ รายการ คือ สิ่งที่ตั้งงบประมาณไว้ในปี ๕๙ ซึ่งในชีทซักซ้อมการทำงบประมาณหน้าสองมีเพียงแปดรายการ
1. เงินอุดหนุนตามอำนาจหน้าที่ เอามาตั้งงบประมาณด้วย ฝั่งรายจ่ายก็แล้วแต่จะเอาไปจ่ายอะไร
2. อาหารเสริมนม ๗ บาท
3. อาหารกลางวัน ๒๐ บาท
สามรายการนี้ก็ตั้งไว้ทั้งฝั่งรับและจ่าย แต่รายการ ๒ และ ๓ ต้องไปดูระเบียบรายได้สถานศึกษาประกอบด้วย อาหารกลางวันต้องเบิกหักผลักส่งไป ศพด.เบิกจ่ายเอง ก็ต้องไปไว้ในค่าใช้สอย รายการไม่เกี่ยวหมวดอื่นๆ
4. การจัดการศึกษาภาคบังคับ (เงินเดือนครูและค่าจ้างประจำ อีก ๕ รายการเดิมไม่ต้องตั้ง แต่เงินเดือนและค่าจ้างต้องตั้ง)
5. ส่งเสริมศักยภาพการจัดการศึกษาท้องถิ่น เช่น หนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน
6. การจัดการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาส ฝั่งจ่ายต้องดูว่าให้มาเป็นค่าอะไร แล้วไปตั้งตามหมวด เช่น หมวดค่าวัสดุ
7. ผู้ป่วยเอดส์ รายจ่ายคืองบกลาง
8. เงินสนับสนุนสนามกีฬา บางที่ได้/ไม่ได้ ให้ไปดูของตัวเอง
แปดรายการนี้คือที่ อปท.จะได้รับในปี ๖๐ อีกสองรายการที่ไม่มีในชีทซักซ้อม คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลของ ขรก. และ การบริการสาธารณสุข (๗,๕๐๐ บาท) เพราะในส่วนของค่ารักษาพยาบาลจะส่งไป สปสช. โดยตรงจึงไม่ต้องตั้ง งปม.รับและจ่าย แต่การบริการสาธารณสุขมีการซ้ำซ้อนกับงบประมาณของ สปสช. รัฐบาลก็เลยไม่ให้ แต่กรมอยู่ระหว่างชั้นแปรญัตติจะขอกลับคืนมา แต่ไม่รู้ว่าจะได้หรือไม่ได้ ในซักซ้อมก็เลยไม่มี ดังนั้น ไม่ต้องตั้งเพราะรัฐบาลไม่ได้จัดสรรให้ แต่ถ้า อปท.อยากจะตั้งโดยจ่ายจากงบประมาณของท้องถิ่นเองก็สามารถทำได้ โดยใช้ระเบียบเงินอุดหนุนมาจับ (คือ ให้อสม.เขียนโครงมาขอ อปท.นำใส่แผน และใส่งบประมาณจ่ายเป็นเงินอุดหนุน)
- เงินอุดหนุนทั่วไประบุวัตถุประสงค์ปี ๕๙ เดิม ในปี ๖๐ นี้ ข้อ ๑-๔ ไม่ต้องตั้งงบประมาณ (การถ่ายโอนบุคลากร การจัดการศึกษาภาคบังคับ-ช่วยเหลือบุตร ค่าเช่าบ้าน ค่าบำเหน็จบำนาญ) แต่ข้อ ๕-๘ ต้องเอามาตั้งด้วย คือ
1. การถ่ายโอนบุคลากร
2. การจัดการศึกษาภาคบังคับ (เงินช่วยเหลือบุตร)
3. การจัดการศึกษาภาคบังคับ (ค่าเช่าบ้าน)
4. การจัดการศึกษาภาคบังคับ (บำเหน็จ บำนาญ)
5. การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน วัสดุการเรียน เครื่องแบบ หนังสือเรียน ให้ไปตั้งแยกตามหมวดที่เกี่ยวข้อง เช่น หมวดวัสดุ
6. สนับสนุน ศพด. เช่น เงินเดือนครู ประกันสังคม ไปตั้งตามหมวดที่เกี่ยวข้องเหมือนกัน เช่น หมวดเงินเดือน ประกันสังคม ประเด็นอยู่ตรงที่ ศพด.มีการบริหารจัดการสามรูปแบบ อปท. บริหารเอง/ร่วมกับวัด/วัดบริหารเอง ดังนั้น ถ้า อปท.บริหารเองก็ไม่ยากตั้งตามหมวดไป แต่ถ้าบริหารร่วมกับวัดแล้วมีเรื่องเงินเดือนมาเกี่ยว อปท.จะต้องแยกภารกิจการใช้จ่ายเงินกับวัดให้ชัดเจน ว่าวัดรับผิดชอบอะไร อปท.รับผิดชอบอะไร เช่น เงินเดือนให้วัดรับผิดชอบ เพียงแต่รัฐส่งเงินมาให้ อปท. ดังนั้น อปท.ก็ไปตั้งหมวดค่าใช้สอย ประเภทรายจ่ายเกี่ยวเนื่องฯ แล้วเบิกหักผลักส่งให้วัด ให้วัดเป็นคนเบิกจ่ายเงินเดือนให้กับครู กรณีที่วัดบริหารเองก็เช่นเดียวกับกรณีบริหารร่วมกับวัด
7. การจัดการศึกษาท้องถิ่น (ค่าปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน) สิ่งที่จะจัดสรรให้ คือ หนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน เสื้อผ้า อาหารกลางวัน ก็ไปตั้งให้ถูกหมวด เช่น ค่าวัสดุการศึกษา วัสดุอาหารกลางวัน
8. การดำเนินงานของ อสม. (เฉพาะ อบจ.) ในชีทซักซ้อมคือข้อ ๔ ได้แก่ เงิน ๖๐๐ บาทเป็นค่าตอบแทน อสม. ดังนั้น ให้ตั้งเฉพาะ อบจ.เท่านั้น อบต.กับเทศบาลไม่ต้องเอามาตั้ง สำหรับ อบจ.ให้ตั้งไว้หมวดค่าตอบแทน ประเภทค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติราชการอันเป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่น
9. การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (ชีทซักซ้อมข้อ ๕) ให้เอามาตั้งในฝั่งรายจ่าย งบกลางด้วย ให้ใช้ข้อมูลของการขึ้นทะเบียนแล้วบวกประมาณการไปตามที่ อปท.เห็นสมควร เพราะผู้สูงอายุพอขึ้นทะเบียนปีนี้จะได้ปีหน้า
10. การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพความพิการ ให้ตั้งไว้งบกลางเช่นกัน ส่วนข้อมูลการคำนวณก็ดูผู้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วบวกประมาณการไว้ตามที่เห็นสมควร แล้วอย่าลืมรายงานการขึ้นทะเบียนมาที่กรมด้วย (ผู้พิการขึ้นทะเบียนแล้วได้เบี้ยยังชีพในเดือนต่อไปเลย)
11. ศูนย์บริการสังคม
12. สถานสงเคราะห์คนชรา สองเรื่องนี้ได้เฉพาะบางท้องถิ่น ก็ตั้งตามหมวดที่ได้รับไป
13. การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี ๖๐ ยังจัดสรรให้ ถ้าบำบัดฟื้นฟูได้หัวละสามพันห้า ส่งเสริมเรื่องอาชีพอีกสองพันห้า อปท.ที่ได้รับเงินให้ตั้งไว้หมวดค่าใช้สอย ทำเป็นโครงการ (อย่าลืมว่าระเบียบฝึกอบรมใหม่ ไม่สามารถส่ง ปชช.ไปฝึกอบรม โดย อปท.จ่ายเงินค่าลงทะเบียนได้แล้ว ทำได้เพียง ขรก.พนักงานเท่านั้น) ดังนั้น อปท.ต้องทำเป็นโครงการเอง
14. ค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนภาคใต้
15. ชดเชยรายได้ภาคใต้
16. การจัดการศึกษาภาคใต้ สามเรื่องนี้ให้ดูว่ามาจ่ายเรื่องอะไรแล้วตั้งตามหมวดที่ได้รับ
17. งานสูบน้ำของสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า (เงินเดือน ค่ากระแสไฟ) มีบาง อปท. ที่ได้ ให้ตั้งเงินเดือนจ่ายในหมวดเงินเดือน ค่าไฟจ่ายอยู่ในหมวดค่าสาธารณูปโภค
18. สนับสนุนไฟป่าและหมอกควัน ในปี ๖๐ นี้รัฐบาลตัดออก จึงไม่ต้องหยิบมาตั้งงบประมาณ (ตอนเขียนหนังสือซักซ้อมยังมีอยู่ ต่อมารัฐตัดออก จึงยังมีอยู่ในชีทซักซ้อม)

การประมาณการรายได้
- หลักการคือให้ประมาณการใกล้เคียงปีที่ผ่านมา
- งบปี ๖๐ ให้หยิบเงินมาจากสามกลุ่ม
1. รายได้จัดเก็บเองและภาษีจัดสรร ปี ๕๘ (ใช้ปี ๕๘ เพราะทำงบ ๖๐ ในปี ๕๙ แต่ยังไม่ปิดงบจึงไม่รู้ว่าปี ๕๙ จะได้เท่าไร)
2. รายได้เงินอุดหนุนทั่วไปปี ๕๙ (ตอนนี้ส่งตัวเลขให้หมดแล้ว บางรายการจ่ายเงินเป็นงวด ก็ให้ไปดูวงเงินรวมว่าได้เท่าไร ให้เอาตัวเลขนั้นมาเป็นฐานข้อมูล)
3. รายได้เงินอุดหนุนทั่วไประบุวัตถุประสงค์ปี ๕๙ (ยึดหลักว่าเคยได้อะไรให้ดูเฉพาะรายการนั้น ถ้าไม่เคยได้ก็ไม่ต้องไปหยิบมาเพราะจะไม่ได้เหมือนเดิม)
ทั้งสามกลุ่มนี้ ฝั่งรายได้จะมีหมวดเงินอุดหนุน ตัวเงินอุดหนุนในข้อ ๒ และ ๓ นี้ ให้ประมาณการประเภทอุดหนุนตามอำนาจหน้าที่และภารกิจถ่ายโอน (ไม่ใช่บริหารจัดการที่ดี) ห้ามเขียนว่าเงินอุดหนุนทั่วไประบุวัตถุประสงค์เพราะไม่มีแล้ว ตอนนี้เหลือเพียงเงินอุดหนุนทั่วไป แยกเป็นสองประเภท คือ บริหารจัดการที่ดีกับบริหารจัดการตามอำนาจหน้าที่และภารกิจถ่ายโอนเท่านั้น ให้ใส่เงินก้อนเดียวในการประมาณการ เช่น ยี่สิบล้าน แต่พอหัวข้อที่เป็นคำชี้แจง จะต้องแตกคำชี้แจงเป็นรายการ เช่น หน้า ๒ ในชีทซักซ้อมแปดรายการ เขียนว่าได้รับในปี ๕๙ และเอามาตั้งในปี ๖๐ เพิ่มหรือมากหรือน้อยกว่าปีที่ผ่านมา อีกอันคือแจงออกมาสิบสามรายการ โดยเขียนว่าเป็นการตั้งงบประมาณเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากปีที่ผ่านมา โดยประกอบด้วยรายการดังนี้ หนึ่งค่าใช้จ่ายการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาท้องถิ่น ศูนย์เด็กเล็ก ฯลฯ แล้วท้ายประโยคต้องใส่วงเงินประมาณการด้วยหรือไม่ คำตอบคือ หนึ่ง ใส่ได้ สอง ไม่ใส่ก็ได้ ในเชิงบริหารแนะนำว่าควรใส่คำชี้แจงลงไปด้วย เพื่อให้สภาและนายอำเภอพิจารณาได้ แต่วงเงินก็เป็นก้อนใหญ่เลย

แนวทางการจัดทำงบประมาณปี ๖๐
- เงินอุดหนุนหน่วยงานอื่น เรื่องนี้มีระเบียบออกมาใหม่ ก็จะต้องมาศึกษาว่าให้อะไรได้บ้างหรือไม่ได้บ้าง ตอนนี้คณะอนุกระจายอำนาจระดับจังหวัดถูกยกเลิกไปแล้ว อำนาจกลับมาที่ อปท.แล้วและต้องรับผิดชอบตนเอง
- ให้จัดทำเอกสารแยกต่างหาก คือ เอกสารโครงการประเภทที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เช่น การก่อสร้างถนน ต้องมีเอกสารประมาณการค่าใช้จ่ายด้วย คำนวณราคากลาง ค่าแรง แฟคเตอร์เอฟด้วย ตรงนี้ไม่ได้รวมถึงการฝึกอบรม/โครงการจัดงาน (แต่ก็ต้องทำเหมือนกันนะ) นอกจากนี้ให้สภาพิจารณาก่อนแล้วค่อยส่งผู้ว่า/นายอำเภอพิจารณา (ปี ๕๙ ให้ส่งผู้ว่า/นายอำเภอพิจารณาก่อนทำให้เกิดปัญหาผู้กำกับดูแลเข้าใจผิดว่าเป็นอำนาจตนเองในการพิจารณาอนุมัติ/ไม่อนุมัติ ปี ๖๐ นี้จึงเปลี่ยนใหม่) อย่าลืมกลับไปแจ้งกองช่างให้ส่งด้วย
- เงินเดือนค่าจ้างเงินเพิ่มเงินประจำตำแหน่งให้ตั้งครบ ๑๒ เดือน (และตั้งตามกรอบในแผนอัตรากำลัง) กรณีถ้าเกิน ๔๐% ให้ใช้เทคนิคแยกออกมาสองส่วน เช่น มีกรอบร้อยคน มีตัวแปดสิบ ให้แปดสิบตั้งครบ ๑๒ เดือน แล้วค่อยคำนวณอีก ๒๐ คนที่เหลือ ตั้งไว้ ๑๒ เดือนก่อน ยังเกิน ๔๐% ให้ตั้งเพียง ๖ เดือน ถ้ายังเกินอีกให้ปรับเหลือ ๓ เดือน ลดเหลือ ๑ เดือน ตามลำดับ ถ้ายังเกินอีกก็ตัวใครตัวมัน แต่อาจารย์เชื่อว่าไม่เกินเพราะเอาเงินอุดหนุนระบุวัตถุประสงค์มารวมคิดเป็นฐานด้วย ฐานก็จะกว้างขึ้น
- ปี ๖๐ ให้ส่งเล่มข้อ

เอกสารการจัดทำงบประมาณปี ๖๐
- ประกอบด้วยแผนสามปี บัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ โครงการเสนอขอรับเงินอุดหนุน เอกสารประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ หนังสือสั่งการและอื่นๆ
1. ต้องใช้แผนปี ๖๐ เท่านั้น เอาปี ๖๑ และ ๖๒ มาจะต้องทำการปรับแผนให้เข้ามาอยู่ในปี ๖๐ เสียก่อน จึงจะเอามาทำข้อบัญญัติปี ๖๐ ได้ รวมถึงการนำไปจ่ายเงินสะสมด้วย
2. บัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์/บัญชีราคาไอซีที (ถ้าสิ่งที่จะซื้ออยู่ในบัญชีสองบัญชีนี้ ให้ตั้งจ่ายอยู่ในหมวดครุภัณฑ์อย่างเดียวเท่านั้น ถ้าไม่มีค่อยไปดูบัญชีของกระทรวงมหาดไทย)
3. โครงการเงินอุดหนุน หากแบบฟอร์มไม่ตรงตามที่กรมฯแจ้งไปให้ส่งกลับไปแก้ เพราะจะได้ตรงกันเป็นมาตรฐานเดียวทั้งประเทศ
4. เอกสารประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ คือ โครงการตามหมวดค่าใช้สอย ทำเป็นร่างมาก่อนเพื่อให้รู้ที่มาที่ไปของวงเงิน เพื่อเตรียมงบประมาณให้เพียงพอตั้งแต่แรก โดยไม่ต้องให้นายก/ปลัดลงนามก็ได้
5. หนังสือสั่งการ บางเรื่องมีการสั่งในหลักการหรือบางเรื่องสั่งเป็นวิธีปฏิบัติเฉพาะปีไว้ มีหลายท้องถิ่นที่ไปตั้งงบประมาณที่สั่งเป็นปี ๆ ไว้ไปใช้ตลอดทุกปี เช่น บ้านท้องถิ่นไทย หรือการซื้อธงประดับเฉลิมพระเกียรติ ดังนั้น ต้องไปดูถ้าสั่งเป็นหลักการก็ทำได้ทุกปี แต่ถ้าสั่งวิธีปฏิบัติประจำปีก็ใช้ได้เฉพาะปีนั้น ๆ นอกจากนี้ก็สามารถนำเอาคำวินิจฉัยกฤษฎีกาและอื่น ๆ มาประกอบด้วยได้
cr: Eak Udom


เขียนโดย   คุณ อบต.โพกรวม
วันที่ 1 ส.ค. 2559 เวลา 09.00 น. [ IP : 61.7.190.13 ]
     
: รายละเอียด  
 
: แนบไฟล์   เลือกไฟล์ 
 
: ชื่อผู้เขียน  
 
 
 
 
 
 
สายตรงนายก
รับเรื่องร้องเรียน
โทร. 089-047-3789
เริ่มนับ วันที่ 3 มี.ค. 2558
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
อบต.โพกรวม : 036-510-803 กองช่าง : 036-510-802 กองสวัสดิการสังคม : 036-510-564 งานป้องกันฯ : 036-699-433
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2551 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม
จำนวนผู้เข้าชม 9,568,864 เริ่มนับ 3 มี.ค. 2558 จัดทำโดย : NAXsolution.com
 
  นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายคุกกี้ | แผนผังเว็บไซต์  
  Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10