หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล โพกรวม ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
วิสัยทัศน์ อบต.โพกรวม
'' สร้างความสามัคคี เกษตรมีระบบชลประทานทั่วถึง
องค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวมเป็นที่พึ่งของประชาชน ''
นายวุฒิพงศ์ ศรีรัง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม
ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต
ให้บริการประชาชนโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
นายสุเทพ พรหมผล
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม
ศูนย์รวมใจของชาวตำบลโพกรวม
อบต.โพกรวม
1
2
3
 
 
อำนาจและหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่เทศกิจ
ประชาชนต้องรู้ถึงอำนาจและหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่เทศกิจ !!

ผมได้มีโอกาสไปบรรยายกฎหมายให้กับเจ้าหน้าที่เทศกิจหลายแห่ง เป็นที่น่าตกใจว่ามีเจ้าหน้าที่มากกว่าครึ่งยังไม่ทราบว่ามีการแก้ไขกฎหมาย ส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เทศกิจผิดกฎหมายเสียเอง ดังนั้น ผมจึงขอใช้พื้นที่ตรงนี้เพื่ออธิบายประเด็นข้อกฎหมายให้แก่เจ้าหน้าที่และประชาชนได้เข้าใจถึงอำนาจหน้าที่ของตน และให้ทุกท่านดูประกอบกับคลิปที่เป็นข่าวดังในตอนนี้นะครับ...

1. เจ้าหน้าที่เทศกิจไม่ใช่เจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่เป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ อบต. / เทศบาล / อบจ. / กทม. / เมืองพัทยา
2. เจ้าหน้าที่เทศกิจอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา "เจ้าพนักงานท้องถิ่น" ได้แก่ นายก อบต/ นายกเทศมนตรี/ นายก อบจ. / ผู้ว่า กทม. / นายกเมืองพัทยา
3. และอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ "พนักงานเจ้าหน้าที่" ได้แก่ ปลัดและรองปลัด อบต. / เทศบาล / อบจ. / กทม. /เมืองพัทยา (แต่ใน กทม. ให้รวมถึง ผู้อํานวยการเขตและผู้ช่วยผู้อํานวยการเขตด้วย)
4. เจ้าพนักงานท้องถิ่น / พนักงานเจ้าหน้าที่ / เจ้าหน้าที่เทศกิจ ทำหน้าที่เป็นควบคุมดูแลและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อบัญญัติท้องถิ่น เช่น พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ 2535 เป็นต้น
5. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ 2535 ได้กำหนดให้ประชาชนมีหน้าที่รักษาความสะอาดในที่สาธารณะ ทั้งทางถนน ได้แก่ ทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ตรอก ซอน สะพาน ฯลฯ และทางน้ำ ได้แก่ ทะเล ทะเลสาบ หาดทรายชายทะเล อ่างเก็บน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ฯลฯ
6. นอกจากจะกำหนดหน้าที่ให้ประชาชนแล้ว ยังบัญญัติให้อำนาจหน้าที่แก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่อีกด้วย เช่น
6.1โฆษณาให้ประชาชนได้ทราบถึงหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
6.2 สอดส่องและกวดขันไม่ให้มีการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้โดยเคร่งครัด
6.3 ตักเตือนผู้กระทําความผิดหรือสั่งให้ผู้กระทําความผิดแก้ไขหรือขจัดความสกปรก หรือความไม่เป็นระเบียบหรือความไม่เรียบร้อยให้หมดไป
6.4 จับกุมผู้กระทําความผิดซึ่งไม่เชื่อฟังคําตักเตือนและดําเนินคดีตามพระราชบัญญัตินี้
6.5 ในกรณีที่มีการกระทําความผิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า มีการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจจับกุมผู้กระทําความผิดหรือผู้ที่ต้องสงสัยว่ากระทําความผิดนั้น พร้อมด้วยยานพาหนะ เครื่องมือ และสิ่งของที่ใช้ในการกระทําความผิดเพื่อดําเนินการตามกฎหมายได้
7. จะเห็นได้ว่า "อำนาจจับกุม" ผู้กระทำผิด พ.ร.บ.รักษาความสะอาด ฯ เป็นของ "เจ้าพนักงานท้องถิ่น" และ "พนักงานเจ้าหน้าที่" เท่านั้น ส่วน "เจ้าหน้าที่ตำรวจ" ก็มีอำนาจจับกุมด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
8. เดิม พ.ร.บ.รักษาความสะอาด ฯ ได้อนุญาตให้ "เจ้าพนักงานท้องถิ่น" แต่งตั้งบุคคลใดให้เป็น "พนักงานเจ้าหน้าที่" ได้ ดังนั้น ในหลายหน่วยงาน "นายก ฯ / ผู้ว่า กทม" จึงแต่งตั้งให้ "หัวหน้าเทศกิจ" เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายด้วย
9. แต่ในปัจจุบัน พ.ร.บ.รักษาความสะอาด ฯ แก้ไขใหม่ มีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ไม่ได้ให้อำนาจ "เจ้าพนักงานท้องถิ่น" แต่งตั้งบุคคลใดให้เป็น "พนักงานเจ้าหน้าที่" ดังนั้น "หัวหน้าเทศกิจ" จึงไม่มีอำนาจจับกุมตามกฎหมาย
10. อย่างไรก็ตาม กทม. / เมืองพัทยา มีกฎหมายเฉพาะที่ให้อำนาจ "เจ้าพนักงานท้องถิ่น" แต่งตั้งบุคคลใดให้เป็น "พนักงานเจ้าหน้าที่" ดังนั้น "หัวหน้าเทศกิจ" จึงยังมีอำนาจจับกุมตามกฎหมายอยู่นั่นเอง
11. สรุป หากเป็น อบต. / เทศบาล / อบจ. / เมืองพัทยา อำนาจจับกุมเป็นของ นายกฯ ปลัด รองปลัด และตำรวจ ส่วนใน กทม. อำนาจจับกุมเป็นของ ผู้ว่าฯ ปลัด รองปลัด ผู้อํานวยการเขตและผู้ช่วยผู้อํานวยการเขต หัวหน้าเทศกิจ และตำรวจ
12. ดังนั้น หากการจับกุมประชาชนที่ทำผิดกฎหมายดังกล่าว กระทำโดยเจ้าหน้าที่เทศกิจเพียงลำพัง ปราศจากบุคคลที่มีอำนาจข้างต้น จึงเป็นการจับกุมโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
13. เมื่อเป็นการจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประชาชนชอบที่จะป้องกันสิทธิของตนเอง ไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
14. ในทางกลับกัน หากประชาชนกระทำความผิดตามกฎหมาย และการจับกุมของเจ้าหน้าที่เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย หากมีการต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ / ถ้าการต่อสู้หรือขัดขวางนั้น ได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ / ถ้าการต่อสู้หรือขัดขวางนั้น ได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

#เทศกิจ

เขียนโดย   คุณ อบต.โพกรวม
วันที่ 28 ม.ค. 2562 เวลา 10.47 น. [ IP : 110.77.232.174 ]
นายกเทศมนตรีมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่เทศกิจทำหน้าที่แทนได้หรือไม่

เขียนโดย   คุณ เอกพันธ์
วันที่ 24 ม.ค. 2566 เวลา 13.00 น. [ IP : 125.26.91.14 ]
อบจ.ไม่มีเทศกิจจร้า

เขียนโดย   คุณ พระเอก
วันที่ 11 เม.ย. 2566 เวลา 23.19 น. [ IP : 122.155.38.142 ]
เทศบาลตำบล ตั้งเทศกิจ ได้ใหม่ครับ ถ้าได้อาศัยอำนาจอะไรครับ

เขียนโดย   คุณ ปชช.ผู้เดือดร้อน
วันที่ 9 ส.ค. 2566 เวลา 06.49 น. [ IP : 1.46.156.181 ]
     
: รายละเอียด  
 
: แนบไฟล์   เลือกไฟล์ 
 
: ชื่อผู้เขียน  
 
 
 
(1)    
 
 
 
สายตรงนายก
รับเรื่องร้องเรียน
โทร. 089-047-3789
เริ่มนับ วันที่ 3 มี.ค. 2558
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
อบต.โพกรวม : 036-510-803 กองช่าง : 036-510-802 กองสวัสดิการสังคม : 036-510-564 งานป้องกันฯ : 036-699-433
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2551 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม
จำนวนผู้เข้าชม 9,543,901 เริ่มนับ 3 มี.ค. 2558 จัดทำโดย : NAXsolution.com
 
  นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายคุกกี้ | แผนผังเว็บไซต์  
  Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10