หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล โพกรวม ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
วิสัยทัศน์ อบต.โพกรวม
'' สร้างความสามัคคี เกษตรมีระบบชลประทานทั่วถึง
องค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวมเป็นที่พึ่งของประชาชน ''
นายวุฒิพงศ์ ศรีรัง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม
ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต
ให้บริการประชาชนโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
นายสุเทพ พรหมผล
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม
ศูนย์รวมใจของชาวตำบลโพกรวม
อบต.โพกรวม
1
2
3
 
 


 
ประชุมคณะกรรมการด้านบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ระดับหมู่บ้าน  
 

นโยบายและการบริหารจัดการขยะในชุมชน
การจัดการขยะให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9 (2545 –
2549) และนโยบายที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดให้มีการจัดการในรูปแบบของการใช้
ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Resource conservation and recovery)
โดยมุ้งเน้นให้มีระบบการบริหารจัดการขยะในชุมชนแบบครบวงจร ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการ
เกิดขยะ จนถึงการกำจัดขั้นสุดท้าย และจะให้ความสำคัญต่อการนำขยะที่มีศักยภาพ
กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และลดปริมาณขยะที่จะต้องนำไปกำจัดให้เหลือน้อยที่สุด
โดยระบบการบริหารจัดการที่กล่าวถึงข้างต้น จะมุ้งเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น จาก
ภาคเอกชนและประชาชน โดยมีนโยบายและเป้าหมายด้านการจัดการขยะของประเทศ
ในระยะยาวได้ ดังนี้
1. นโยบาย
1.1 ควบคุมอัตราการผลิตขยะของประชาชน
1.2 สนับสนุนงบประมาณ บุคลากร และวิชาการแก่ท้องถิ่นเพื่อให้มีการจัดการ
ขยะแบบครบวงจร ตั้งแต่การเก็บ การคัดแยก การขนส่ง การนำกลับมาใช้ประโยชน์
และการกำจัดที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล
1.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความร่วมมือกันใน
การจัดการขยะแบบครบวงจรตั้งแต่การลด การคัดแยกและใช้ประโยชน์และการกำจัดที่
ถูกต้องตามหลักวิชาการโดยมุ่งเน้นรูปแบบศูนย์จัดการขยะรวม
1.4 สนับสนุนให้มีกฎระเบียบ และเกณฑ์การจัดการขยะที่เหมาะสมตั้งแต่การลด
และใช้ประโยชน์ขยะจนถึงการกำจัดเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ
1.5 ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรเอกชนและประชาชน มีส่วนร่วมในการแก้ไข
ปัญหาขยะมากขึ้น
2. เป้าหมาย
2.1 ควบคุมอัตราเกิดขยะในปี พ.ศ. 2549 ให้มีไม่เกิน 1 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน
ในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยาและเทศบาลนคร ไม่เกิน 0.8 และ 0.9 กิโลกรัมต่อ
คนต่อวันในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล และไม่เกิน 0.4 กิโลกรัมต่อคนต่อวันใน
เขตองค์การบริหารส่วนตำบล
- 9 -
2.2 ควบคุมปริมาณขยะตกค้างจากการให้บริการจัดเก็บให้มีไม่เกินร้อยละ 5
ในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยาและเทศบาล และไม่เกินร้อยละ 10 ในเขตองค์การ
บริหารส่วนตำบลภายในปี พ.ศ. 2549
2.3 สนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์จากขยะรวมในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นภายในปี พ.ศ. 2549
2.4 สนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์กำจัดขยะที่เป็นระบบครบวงจรไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 50 ของจำนวนจังหวัดทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2549 และครบทั่วทั้งประเทศ
ภายในปี พ.ศ. 2554
3. การแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ
เพื่อให้การดำเนินงานจัดการขยะชุมชนบรรลุตามนโยบายและเป้าหมายที่กำหนด
ไว้จำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์และมาตรการสำหรับให้เป็นแนวทางการดำเนินงาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลดและใช้ประโยชน์ขยะจะต้องอาศัยมาตรการที่เกี่ยวข้องทั้ง
ในด้านการจัดการ ด้านกฎหมาย ด้านการสนับสนุน และด้านการลงทุนโดยมี
รายละเอียดดังต่อไปนี้
3.1 ด้านการจัดการ
3.1.1 ใช้หลักการ “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” (Polluter Pays Principle) กับ
ประชาชนและเอกชนที่เป็นผู้ผลิตขยะ หรือไม่มีการดำเนินการนำของเสียหรือวัสดุเหลือใช้
ที่เกิดขึ้นกลับมาใช้ใหม่
3.1.2 ให้มีการจัดทำแผนหลักการลดและใช้ประโยชน์ของเสียในระดับ
จังหวัดให้สอดคล้องกับแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับชาติ
3.1.3 กำหนดเกณฑ์ มาตรฐาน และแนวทางปฏิบัติในการลดและใช้
ประโยชน์ขยะชุมชน ตั้งแต่การลดปริมาณขยะ การคัดแยก ภาชนะรองรับขยะ การเก็บ
รวบรวม ภาชนะเก็บขนขยะรีไซเคิล การขนส่ง การแปรสภาพและการใช้ประโยชน์เพื่อ
เป็นแนวปฏิบัติทั่วประเทศ
3.1.4 กำหนดประเภทผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ผู้ผลิตต้องนำกลับคืน
เรียกคืน และมัดจำ เพื่อลดปริมาณขยะ
3.1.5 ติดตามตรวจสอบ และประเมินสภาพปัญหาในการลดและใช้ประโยชน์
ของเสียทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง
3.1.6 ให้แต่ละจังหวัดมีการจัดเตรียมสถานที่จัดตั้งโรงงานคัดแยกและ
แปรสภาพวัสดุเหลือใช้ ในบริเวณพื้นที่เดียวกับสถานที่กำจัดขยะอย่างถูกหลัก
สุขาภิบาล
- 10 -
3.1.7 จัดทำและพัฒนาระบบข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับขยะรีไซเคิล บรรจุ
ภัณฑ์ใช้แล้ว และวัสดุเหลือใช้ให้เป็นพื้นฐานเดียวกันเพื่อสามารถเปรียบเทียบหรือปรับ
ให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา
3.1.8 กำหนดองค์กรและบทบาทหน้าที่ในการควบคุมกำกับดูแลในการลด
และใช้ประโยชน์จากของเสียของหน่วยงานต่างๆ อย่างเป็นระบบและครบวงจร
3.2 ด้านการลงทุน
3.2.1 ส่งเสริมให้มีภาชนะรองรับขยะแบบแยกประเภท เพื่อสนับสนุน
การคัดแยกขยะในครัวเรือน และในชุมชน
3.2.2 ส่งเสริมการลงทุนก่อสร้างโรงงานคัดแยก และแปรสภาพวัสดุ
เหลือใช้ ที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานในพื้นที่โดยการให้สัมปทานแก่เอกชน หรือรัฐ
ร่วมลงทุนกับภาคเอกชน
3.2.3 ส่งเสริมให้มีจัดตั้งศูนย์หรือโรงงานคัดแยก และแปรสภาพวัสดุเหลือ
ใช้ ที่สามารถใช้ร่วมกันได้ในพื้นที่ระหว่างจังหวัดหลายแห่งที่ใกล้เคียงกัน รวมทั้งมีการนำ
ระบบการคัดแยกและแปรสภาพของเสียมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ
ดำเนินงาน
3.2.4 ส่งเสริมการลงทุนแก่เอกชนที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการลดและใช้
ประโยชน์ของเสีย โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจัดให้มีศูนย์ประสานข้อมูล
การนำขยะมาใช้ประโยชน์ (Waste Information Center)
3.2.5 สนับสนุนงบประมาณ สิ่งจูงใจ ความช่วยเหลือด้านวิชาการ รวมถึง
การอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่เอกชนที่เข้ามาดำเนินธุรกิจด้านการลดและใช้ประโยชน์
ของเสีย เช่น
(1) การสร้างสิ่งจูงใจทางเศรษฐกิจ (Economic incentive)
(2) การปรับปรุงราคาสินค้าให้สอดคล้องกับราคาต้นทุนจริงทาง
สิ่งแวดล้อม
(3) การปรับโครงสร้างของการเก็บภาษีสินค้าที่ก่อให้เกิดมลพิษ
(4) การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ลดปัญหามลพิษ
(Eco design / Eco efficiency)
3.3 ด้านกฎหมาย
3.3.1 ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอัตราค่าธรรมเนียมจัดการขยะ
เพื่อก่อให้เกิดการลดและคัดแยกขยะก่อนทิ้ง
- 11 -
3.3.2 กำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากโรงงานคัดแยกและแปรสภาพ
วัสดุเหลือใช้ เช่น มาตรฐานน้ำทิ้ง มาตรฐานคุณภาพอากาศ มาตรฐานระดับเสียง
3.3.3 กำหนดกฎระเบียบข้อบังคับมาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เพื่อสร้างกลไกการเรียกคืนซากผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ การมัดจำ และกลไกที่เกี่ยวข้อง
กับการใช้ประโยชน์จากขยะและการลดปริมาณขยะ
3.3.4 ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับอัตรา
ค่าธรรมเนียมการลดและใช้ประโยชน์จากขยะ โดยกำหนดค่าธรรมเนียมในอัตราสูงสำหรับ
ผู้ผลิตสินค้าที่ก่อให้เกิดขยะปริมาณมากหรือก่อให้เกิดของเสียที่ยากแก่การเก็บรวบรวม
การขนส่ง การบำบัด รวมทั้งการนำกลับมาใช้ประโยชน์อีกด้วย
3.4 ด้านการสนับสนุน
3.4.1 สนับสนุนให้เอกชนดำเนินธุรกิจการบริการด้านเก็บขน ขนส่ง และ
การนำของเสียหรือวัสดุเหลือใช้มาใช้ใหม่ในรูปของการว่าจ้าง การร่วมทุน หรือการให้
สัมปทาน
3.4.2 สนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนและท้องถิ่นต่างๆ มีส่วนร่วมในการ
วางแผน กำหนดมาตรการจัดทำกิจกรรมและโครงการด้านการลดและนำของเสียหรือ
วัสดุเหลือใช้มาใช้ใหม่
3.4.3 สนับสนุนให้มีการฝึกอบรม เพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์ด้าน
วิชาการและการบริหารจัดการแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการลด
และใช้ประโยชน์ของเสีย
3.4.4 สนับสนุนให้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อปลูกฝังทัศนคติ และ
สร้างค่านิยมให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป ในการรักษาความสะอาดของบ้านเมือง
โดยการลดและใช้ประโยชน์ของเสีย
3.4.5 สนับสนุนให้มีการคัดแยกขยะที่แหล่งกำเนิดในชุมชน ซึ่งได้แก่ ที่
พักอาศัย สถานประกอบการ สถาบันการศึกษาต่างๆ และโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อนำ
กลับมาใช้ประโยชน์โดยอาศัยกลยุทธ์ ของการคัดแยกขยะออกเป็นประเภทต่างๆ ซึ่ง
จะต้องสอดคล้องกับวิธีการเก็บรวบรวมและขนส่ง รวมทั้งวิธีการใช้ประโยชน์และกำจัด
ของเสียที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
4. แนวทางการลดขยะที่แหล่งกำเนิด
เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายที่กำหนดไว้ องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นที่รับผิดชอบด้านการจัดการขยะในชุมชนควรจัดให้มีมาตรการหรือแนวทางการ
ลดขยะ ดังต่อไปนี้
- 12 -
4.1 จัดทำแผนการดำเนินงานด้านการลดและใช้ประโยชน์ขยะเสนอไว้ใน
แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด โดยแผนงานดังกล่าว
อย่างน้อยจะต้องประกอบไปด้วย
4.1.1 เป้าหมายและประเภทขยะที่ต้องการจะลด ในระยะเวลาที่กำหนด
ในแผนการดำเนินงาน เช่น กำหนดเป้าหมายในการลดขยะย่อยสลายและขยะรีไซเคิล
ให้ได้ร้อยละ 30 ภายใน 5 ปี เป็นต้น
4.1.2 กิจกรรมต่างๆ ที่จะดำเนินการ เช่น การรณรงค์ประชาสัมพันธ์
มาตรการส่งเสริมสนับสนุน และการกำหนดมาตรอื่นๆ ที่จะก่อให้เกิดการลดขยะตามเป้าหมาย
ที่กำหนดไว้
4.1.3 งบประมาณดำเนินการ ซึ่งรวมถึง ค่าจ้างบุคลากร ค่าจัดซื้อวัสดุ
อุปกรณ์ เงินลงทุนสำหรับก่อสร้าง ดำเนินการและบำรุงรักษาระบบที่เกี่ยวข้อง
4.1.4 ระยะเวลาดำเนินการและการติดตามประเมินผล
4.2 จัดให้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้กับชุมชน สถาบันการศึกษา และ
หน่วยงานต่างๆ ในด้านการลดขยะอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอโดยมีแนวทางดังนี้
4.2.1 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงสิ่งของหรือ
บรรจุภัณฑ์ที่จะสร้างปัญหาขยะรวมทั้งเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ถุงพลาสติก กล่อง
โฟม สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มหลายชั้น และบรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือยอื่นๆ
4.2.2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนเลือกใช้สินค้าชนิดเติม (Refill)
ซึ่งจะใช้บรรจุภัณฑ์น้อยชิ้น และมีน้ำหนักเบากว่าทำให้สามารถลดปริมาณขยะบรรจุภัณฑ์
ได้
4.2.3 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนเลือกใช้สินค้าที่สามารถส่งคืน
บรรจุภัณฑ์กลับสู่ผู้ผลิตได้ เช่น ขวดเครื่องดื่มที่มีระบบมัดจำคืนเงิน
4.2.4 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ด้านการซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องใช้
ต่าง ๆ ให้สามารถใช้งานได้คงทนและยาวนานยิ่งขึ้น รวมทั้ง การเลือกซื้อสินค้าที่
สามารถใช้งานได้ยาวนาน
4.2.5 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนใช้ซ้ำบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้
อื่นๆ เช่น การใช้ซ้ำถุงพลาสติก ถุงผ้า ถุงกระดาษ กล่องกระดาษ การใช้กระดาษสีและ
กระดาษกันกระแทกเพื่องานศิลปะ
4.2.6 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนบริโภคตามความจำเป็นและ
เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจ ลดการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย และเลือกใช้สินค้าที่สามารถใช้ซ้ำ
ได้หลายครั้ง เช่น แบตเตอรี่ประจุไฟฟ้าใหม่ได้
- 13 -
4.2.7 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนสนใจบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำ
มาจากวัสดุรีไซเคิล เช่น ถุงชอปปิ้ง โปสการ์ด บรรจุภัณฑ์ที่มีระบบมัดจำและเรียกคืน
รวมทั้งการรณรงค์ให้ประชาชนลดหรือเลิกใช้บรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือย เช่น กล่องโฟม
ถุงพลาสติก สินค้าชนิดใช้ครั้งเดียว
4.3 จัดให้มีโครงการหรือกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนการลดขยะในชุมชน ดังนี้
4.3.1 จัดทำโครงการหรือประสานให้มีการดำเนินโครงการที่เน้นการลด
และใช้ประโยชน์ขยะชุมชน ณ แหล่งกำเนิด ซึ่งจะลดภาระการดำเนินงานขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยโครงการดังกล่าว ได้แก่ การจัดตั้งธนาคารขยะหรือวัสดุเหลือใช้
การหมักทำปุ๋ย การหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพ ตลาดนัดขยะรีไซเคิล ขยะแลกไข่ ผ้าป่ารีไซเคิล
สหกรณ์สินค้ารีไซเคิล การบริจาคสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว เป็นต้น
4.3.2 ให้รางวัลตอบแทน ใบประกาศเกียรติคุณ หรือการส่งเสริมการขาย
จากภาครัฐแก่ร้านค้าที่สามารถลดบรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือย เช่นร้านค้าที่มีการกักเก็บหรือ
จำหน่ายสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มน้อย หรือมีการรวบรวมบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วเพื่อใช้
ประโยชน์ใหม่
4.3.3 ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ที่ประกอบการที่ให้เช่า ยืมวัสดุอุปกรณ์
หรือ เครื่องมือต่างๆ เช่น ชุดตกแต่งรวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานเลี้ยง ชุดอุปกรณ์
ทำความสะอาดบ้าน เป็นต้น
4.3.4 จัดตั้งกลุ่มองค์กรเอกชน กลุ่มอาสาสมัครต่างๆ เพื่อสนับสนุน
การดำเนินงานของภาครัฐในด้านการลดและใช้ประโยชน์ขยะ ตลอดจนการจัดการคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมอื่นๆ ในชุมชน
4.3.5 จัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนของเสียระหว่างผู้ประกอบการ
4.4 ตราเทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อจัดเก็บ
ค่าบริการจัดการขยะที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งรวมถึงค่าบริการเก็บรวบรวม ขนส่ง
ตลอดจนการกำจัด โดยมีวิธีดำเนินการในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
4.4.1 จำหน่ายถุงบรรจุขยะในราคาที่แตกต่างกันตามปริมาตรบรรจุ
โดยเป็นราคาที่รวมอัตราค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวม การขนส่งและการกำจัดไว้แล้ว
จากนั้นให้ดำเนินการเก็บขนและกำจัดเฉพาะขยะที่บรรจุอยู่ในถุงดังกล่าว
4.4.2 จัดทำแสตมป์ หรือ สติกเกอร์ เพื่อจำหน่ายในราคาที่แตกต่างกัน
ตามปริมาตรของภาชนะรองรับขยะ โดยเป็นราคาที่รวมค่าเก็บรวบรวม ขนส่งและกำจัด
มูลฝอยไว้แล้ว ซึ่งแต่ละครัวเรือนจะนำไปติดกับภาชนะรองรับขยะของตนเอง เพื่อรอให้
หน่วยงานที่รับผิดชอบเก็บขนและกำจัดต่อไป
- 14 -
4.5 ตราเทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมจัดการขยะเพิ่มเติมจากผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าหรือบริการที่จะก่อให้เกิด
ขยะที่เป็นปัญหาต่อระบบจัดการในท้องถิ่น เช่น ถุงพลาสติก กล่องโฟมบรรจุอาหาร
เป็นต้น
4.6 ตราเทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อลดหย่อน
หรืองดค่าธรรมเนียมจัดการขยะให้แก่ร้านค้าที่สามารถลดการใช้บรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือย
หรือผู้ประกอบการที่สามารถลดขยะได้ตามเป้าหมายที่หน่วยงานภาครัฐกำหนด
4.7 ให้การส่งเสริมด้านภาษีโดยการลดอัตราภาษีท้องถิ่นสำหรับผู้ประกอบการ
ธุรกิจที่ส่งเสริมให้เกิดกลไกการลดขยะ เช่น ธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนของเสีย ธุรกิจ
เรียกคืนบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ใช้แล้ว ธุรกิจมัดจำคืนเงิน ธุรกิจตลาดนัดสินค้าเสื้อผ้า
หรือ เฟอร์นิเจอร์ใช้แล้ว เป็นต้น
4.8 กำหนดให้ส่วนราชการในท้องถิ่นดำเนินกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดการลดขยะ
ดังนี้
4.8.1 พิมพ์หรือถ่ายเอกสารทั้ง 2 ด้านของกระดาษ
4.8.2 จัดตั้งศูนย์รวมเอกสาร/ข้อมูลภายในหน่วยงานและให้ใช้เอกสาร
เวียน
4.8.3 ใช้หรือส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
4.8.4 ใช้ซ้ำกระดาษที่พิมพ์หน้าเดียว
4.8.5 ใช้ซ้ำกล่องกระดาษลูกฟูกหรือนำกลับคืนสู่ผู้จำหน่ายสินค้า
4.8.6 จัดซื้อวัสดุสิ่งของที่ใช้บ่อยให้มีขนาดบรรจุใหญ่กว่าเพื่อลดขยะ
บรรจุภัณฑ์
4.8.7 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำนักงานที่มีภาชนะบรรจุน้อยกว่าหรือ
ภาชนะบรรจุที่สามารถใช้ซ้ำได้
4.8.8 จัดซื้อหรือใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ซ่อมแซมได้
ง่าย สามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง มีส่วนประกอบของวัสดุรีไซเคิลหรือสามารถนำกลับไปรี
ไซเคิลได้ และผู้ผลิตเรียกคืนซากผลิตภัณฑ์ภายหลังจากการบริโภค
4.9 ส่งเสริมให้ผู้จัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ห้างสรรพสินค้า หรือ
ร้านค้าปลีก-ส่ง อำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคในการคัดแยกและส่งคืนบรรจุภัณฑ์ที่
ใช้ห่อหุ้มสินค้า โดยจัดให้มีภาชนะรองรับที่เหมาะสม ณ จุดขายและเปิดโอกาสให้ผู้บริโภค
แยกบรรจุภัณฑ์ออกจากสินค้า ณ จุดขาย หรือใกล้จุดขาย โดยไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย
4.10 ส่งเสริมให้อาคารสำนักงาน สถาบันการศึกษา ห้างสรรพสินค้า โรงแรม
และสถานประกอบการอื่นๆ ที่มีบุคลากร หรือบุคคลพักอาศัยอยู่ตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป
จัดทำแผนและกิจกรรมการลดขยะ ซึ่งประกอบไปด้วย เป้าหมาย วิธีดำเนินการ
- 15 -
ระยะเวลาและงบประมาณที่ใช้ และการประเมินผล แล้วนำเสนอแผนดังกล่าวให้กับองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบด้านการจัดการขยะ เพื่อให้สามารถติดตามตรวจสอบ
ผลการดำเนินงานได้

 

ข่าว ณ. วันที่ 10 เม.ย. 2560 เวลา 11.32 น. โดย กองคลัง

ผู้เข้าชม 3256 ท่าน

 
 
 
รูปชุดก่อน
รูปชุดถัดไป
 
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

ลำดับภาพที่ 1/24

ลำดับภาพที่ 2/24

ลำดับภาพที่ 3/24

ลำดับภาพที่ 4/24

ลำดับภาพที่ 5/24

ลำดับภาพที่ 6/24

ลำดับภาพที่ 7/24

ลำดับภาพที่ 8/24

ลำดับภาพที่ 9/24

ลำดับภาพที่ 10/24

ลำดับภาพที่ 11/24

ลำดับภาพที่ 12/24

ลำดับภาพที่ 13/24

ลำดับภาพที่ 14/24

ลำดับภาพที่ 15/24

ลำดับภาพที่ 16/24

ลำดับภาพที่ 17/24

ลำดับภาพที่ 18/24

ลำดับภาพที่ 19/24

ลำดับภาพที่ 20/24

ลำดับภาพที่ 21/24

ลำดับภาพที่ 22/24

ลำดับภาพที่ 23/24

ลำดับภาพที่ 24/24
<<
>>
X
 
 
สายตรงนายก
รับเรื่องร้องเรียน
โทร. 089-047-3789
เริ่มนับ วันที่ 3 มี.ค. 2558
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
อบต.โพกรวม : 036-510-803 กองช่าง : 036-510-802 กองสวัสดิการสังคม : 036-510-564 งานป้องกันฯ : 036-699-433
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2551 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลโพกรวม
จำนวนผู้เข้าชม 9,544,062 เริ่มนับ 3 มี.ค. 2558 จัดทำโดย : NAXsolution.com
 
  นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายคุกกี้ | แผนผังเว็บไซต์  
  Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10